กฎหมาย pdpa คืออะไร หลัง pdpa บังคับใช้เมื่อไหร่ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะมีผลบังคับ เริ่มใช้ 1 มิ.ย.นี้ ข้อบังคับเกี่ยวกับ ข้อมูลส่วนบุคคล มีอะไรบ้าง สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ล่าสุด ดูที่นี่ วันที่ 30 พ.ค.65 เฟซบุ๊กแฟนเพจ รัชดา ธนาดิเรก – รองโฆษกรัฐบาล ออกมาโพสต์อัปเดตข้อมูลเกี่ยวกับ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีผลบังคับใช้ 1 มิ.ย.นี้ โดยระบุข้อความว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) แจ้งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (พ.ศ.2562) หรือ PDPA (Personal Data Protection Act) จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 หลังจากเลื่อนการประกาศใช้มาแล้ว 2 ปี
กฎหมาย พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (พ.ศ.2562)
ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ มีหลักสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนว่าข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกนำไปใช้อย่างเป็นธรรม โปร่งใส และได้รับการดูแลมิให้มีการนำข้อมูลไปใช้งานในทางที่ผิด โดยกำหนดให้การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลใด จะต้องมีการขออนุญาตจากเจ้าของข้อมูลหรือตามที่มีการบัญญัติไว้ในกฎหมาย และต้องแจ้งวัตถุประสงค์ในการนำข้อมูลไปใช้และต้องใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่แจ้งด้วย
นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการให้สิทธิเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สามารถขอให้เปลี่ยนแปลง แก้ไข ขอสำเนา ขอให้ลบได้ หากไม่ขัดกับหลักการหรือข้อกฎหมายใด ๆ และองค์กรที่ได้ข้อมูลส่วนบุคคลมาต้องมีมาตรการและมาตรฐานในการบริหารจัดการดูแลข้อมูลเหล่านี้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
ขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) กำลังอยู่ระหว่างการทำโครงการแพลตฟอร์มภาครัฐ เพื่อรองรับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คาดว่าจะเสร็จภายในปีนี้ และจะเป็นแพลตฟอร์มนำร่องที่เอกชนสามารถนำไปเป็นต้นแบบในการใช้งานได้
สำหรับระบบปฏิบัติงาน กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งสิ้น 4 ระบบ ประกอบด้วย
1. ระบบบันทึกรายการกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Record of Processing Activities Platform)
2. ระบบบริหารจัดการความยินยอม (Consent Management Platform) เพื่อใช้ในการบริหารจัดการความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
3. ระบบจัดการการใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject Access Request Platform)
4. ระบบจัดการการแจ้งเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (Data Breach Notification Platform) ซึ่งสามารถแจ้งเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลไปยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ภายใน 72 ชั่วโมง
กมธ. เตรียมเปิดหลักฐานพิสูจน์ ผ้าแตงโม จาก บังแจ็ค จริงหรือปลอม?
กมธ. เตรียมเปิดหลักฐานพิสูจน์หาคราบเลือดและ DNA จาก ผ้าแตงโม ที่ทาง บังแจ็ค ส่งให้ว่าเป็นของจริงหรือปลอม ยันไม่ใช่การจับผิด แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ สมาชิกวุฒิสภา และอดีตผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ได้ออกมากล่าวก่อนเปิดหลักฐาน ผ้าแตงโม ของ บังแจ็ค ที่ถูกส่งมาให้เมื่อ 4 สัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นผ้าคลุมลูกไม้ที่ทางบังแจ็คอ้างว่าเป็นของแตงโมในวันเกิดเหตุ
โดย หมอพรทิพย์ ระบุว่า ขณะนี้ยังไม่ขอยืนยันว่าเป็นของจริงหรือปลอม ซึ่งวันนี้จะเปิดต่อหน้าสื่อมวลชน และแม่แตงโม จะทำเรื่องส่งไปยังกองพิสูจน์หลักฐาน เพื่อหาคราบเลือดหรือดีเอ็นเออื่น ที่อาจติดอยู่บนผ้า
หากตรวจสอบได้ก็จะทราบว่าคราบเลือดนั้น เกิดขึ้นก่อนหรือหลังตกเรือ เนื่องจากว่า หากคราบเลือดเกาะติดที่ลูกไม้ แสดงว่า จะเกิดขึ้นก่อนแตงโม เสียชีวิต เนื่องจากเลือกแห้งเป็นคราบเกาะที่กระโปรงลูกไม้ พร้อมย้ำว่า หากผ้าผืนนี้เป็นของจริง ต่อให้เอาไปซักกี่ครั้ง หรือใช้วิธีอื่นกำจัดคราบนี้ก็ไม่สามารถทำได้ คราบเลือดก็ยังคงอยู่
โดยหลังจากที่กรรมาธิการได้รับผ้าแตงโมผืนดังกล่าวมา ก็ได้ประสานไปยัง สภ.เมืองนนทบุรี ที่เป็นเจ้าของของคดี แต่ไม่มีการติดต่อกลับมา ซึ่งก็ไม่ทราบเหตุผลเช่นเดียวกัน วันนี้แม่แตงโม จึงมายื่นขอรับผ้าดังกล่าวจากกรรมธิการ ก่อนจะทำเรื่องส่งไปยังกองพิสูจน์หลักฐาน ทำการเพื่อพิสูจน์
ที่ผ่านมา มีการกล่าวถึงบุคคลหลายคน รวมถึง มีประเด็นใหม่เกิดขึ้นหลายอย่าง แต่ย้ำว่าสิ่งที่เคยตั้งข้อสังเกต คือ แผลที่ขาของแตงโม เกิดขึ้นก่อนหรือหลังเสียชีวิต ซึ่งยังไม่มีการหาคำตอบได้ ส่วนเรื่องที่เปลี่ยนทนายหลายครั้ง จะทำให้การสื่อสารของคดีนี้ของคดีเปลี่ยนแปลงหรือคาดเคลื่อนหรือไม่ เพราะกรรมาธิการทำหน้าที่ตามที่ญาติร้องขอ และย้ำว่า ตนไม่เคยได้คุยกับบังแจ็คโดยตรง แต่มีคนแนะนำให้บังแจ็คส่งผ้าแตงโมมายังกรรมธิการ
อย่างไรก็ตาม มองว่าวันนี้สิ่งที่ทุกคนควรโฟกัสคือสาเหตุการเสียชีวิตของแตงโม ไม่ใช่จับผิดเรื่องการสร้างหลักฐานเท็จ เพราะไม่ว่าจะคนดีหรือคนชั่ว ก็สร้างหลักฐานเท็จได้
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป